วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

เรื่องที่คุณไม่เคยรูเกี่ยวกับ กัปตันอเมริกา





กัปตันอเมริกา
กัปตันอเมริกา (อังกฤษ: Captain America) เป็นตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ที่ปรากฏในหนังสือการ์ตูนซึ่งจัดพิมพ์โดยมาร์เวลคอมิกส์ โดยตัวละครนี้ได้ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือ กัปตันอเมริกาคอมิกส์ #1 (มีนาคม ค.ศ. 1941) ถือเป็นตัวละครยุค 1940 ของมาร์เวลคอมิกส์ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากไทม์ลี่คอมิกส์[1] และได้รับการสร้างโดย โจ ไซมอน กับ แจ็ค เคอร์บี้ หลายปีที่ผ่านมานี้ ประมาณการได้ว่าได้มีการจัดพิมพ์หนังสือการ์ตูน "กัปตันอเมริกา" 210 ล้านเล่ม และได้มีการจัดจำหน่ายในประเทศต่างๆรวม 75 ประเทศ[2] แทบทุกประวัติการจัดพิมพ์กัปตันอเมริกาได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงตัวตนของ สตีฟ โรเจอร์ส (อังกฤษ: Steve Rogers) ซึ่งเป็นชายหนุ่มผู้บอบบางที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงจนกลายมาเป็นมนุษย์ผู้มีความสมบูรณ์แบบขั้นสูงสุดโดยได้รับเซรุ่มทดลอง ภายใต้คำสั่งในการช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นความพยายามในด้านการสงคราม กัปตันอเมริกาเป็นผู้สวมเครื่องแบบที่มีลวดลายแบบธงชาติสหรัฐอเมริกา และมีโล่ที่ไม่มีสิ่งใดสามารถทำลายได้ ซึ่งสามารถใช้ร่อนเพื่อโจมตีเป็นอาวุธได้[3]
จากเจตนาต้องการที่จะสร้างความรักชาติ โดยให้เขาต้องทำการต่อสู้กับฝ่ายอักษะแห่งสงครามโลกครั้งที่สอง กัปตันอเมริกาจึงกลายมาเป็นตัวละครที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของไทม์ลี่คอมิกส์ในช่วงยุคของสงคราม ภายหลังจากสงครามสิ้นสุดลง ตัวละครนี้ก็ได้รับความนิยมลดถอยลง และเขาก็ได้หายไปในช่วงยุค 1950 นอกเหนือจากความพยายามที่จะฟื้นฟูในปี ค.ศ. 1953 กัปตันอเมริกาได้รับการรื้อฟื้นอีกครั้งในยุคเงินของหนังสือการ์ตูน เมื่อเขาฟื้นขึ้นมามีชีวิตใหม่ โดยการต่อชีวิตจากทีมซูเปอร์ฮีโร่ที่มีชื่อว่าอเวนเจอร์ส ในหนังสือ อเวนเจอร์ส #4 (มีนาคม ค.ศ. 1964) นับแต่นั้นเป็นต้นมา กัปตันอเมริกาก็ได้เป็นผู้นำของทีมอยู่บ่อยครั้ง ตลอดจนเป็นดารานำในซีรีส์ของตัวเอง ต่อมา สตีฟ โรเจอร์ส ได้ถูกสังหารลงในกัปตันอเมริกา vol. 5, #25 (มีนาคม ค.ศ. 2007) แม้ว่าในภายหลังจะมีการเปิดเผยว่าเขายังมีชีวิตอยู่ ไม่ว่าดีหรือร้าย ซีรีส์ของกัปตันอเมริกาก็ยังได้รับการจัดพิมพ์ต่อไป[4] โดยกำหนดให้ผู้เป็นสหายของโรเจอร์ส ที่มีชื่อว่า เจมส์ "บัคกี้" บาร์นส์ เป็นผู้สานต่อ โดยใช้เวลาในการยืนยันความสามารถอย่างน้อยที่สุดก็ในตอนนี้ ในขณะที่โรเจอร์สเป็นอินเทลิเจนท์ เอเจนท์ หรือตัวแทนอัจฉริยะแยกออกมาใหม่ในซีรีส์ของเขาเอง ซึ่งมีชื่อว่า สตีฟ โรเจอร์ส: ซูเปอร์โซลเยอร์ (อังกฤษ: Steve Rogers: Super Soldier)

ภาพยนตร์ที่ได้แรงดลบันดาลใจจากตัวละครดังกล่าวโดยใช้ชื่อว่า กัปตันอเมริกา: อเวนเจอร์ที่ 1 ได้รับการยืนยันแล้วว่าจะมีการจัดฉายในปี ค.ศ. 2011 โดยมีผู้รับบทเป็นกัปตันอเมริกาคือ คริส อีแวนส์

ความหมายของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต ( Internet )
ความหมายของอินเทอร์เน็ตคือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด



อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

องค์ประกอบของอินเทอร์เน็ต

องค์ประกอบของอินเทอร์เน็ต
1. ความเรียบง่าย ได้แก่ มีรูปแบบที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้งานได้สะดวก ไม่มีกราฟิกหรือตัวอักษรที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ชนิดและสีของตัวอักษรไม่มากจนเกินไปทำให้วุ่นวาย
2. ความสม่ำเสมอ ได้แก่ ใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ เช่น รูปแบบของหน้า สไตล์ของกราฟิก ระบบเนวิเกชันและโทนสี ควรมีความคล้ายคลึงกันตลอดทั้งเว็บไซต์
3. ความเป็นเอกลักษณ์ การออกแบบเว็บไซต์ควรคำนึงถึงลักษณะขององค์กร เพราะรูปแบบของเว็บไซต์จะสะท้อนถึงเอกลักษณ์และลักษณะขององค์กรนั้น ๆ เช่น ถ้าเป็นเว็บไซต์ของทาง ราชการ จะต้องดูน่าเชื่อถือไม่เหมือนสวนสนุก ฯลฯ
4. เนื้อหาที่มีประโยชน์ เนื้อหาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในเว็บไซต์ ดังนั้นควร จัดเตรียมเนื้อหาและข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการให้ถูกต้อง และสมบูรณ์ มีการปรับปรุงและเพิ่มเติมให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
เนื้อหาไม่ควรซ้ำกับเว็บไซต์อื่น จึงจะดึงดูดความสนใจ

5. ระบบเนวิเกชันที่ใช้งานง่าย ต้องออกแบบให้ผู้ใช้เข้าใจง่ายและใช้งานสะดวก ใช้กราฟิกที่สื่อความหมายร่วมกับคำอธิบายที่ชัดเจน มีรูปแบบและลำดับของรายการที่สม่ำเสมอ เช่น วางไว้ ตำแหน่งเดียวกันของทุกหน้า
6. ลักษณะที่น่าสนใจ หน้าตาของเว็บไซต์จะต้องมีความสัมพันธ์กับคุณภาพขององค์ประกอบต่างๆ เช่น คุณภาพของกราฟิกที่จะต้องสมบูรณ์ การใช้สี การใช้ตัวอักษรที่อ่านง่าย สบายตา การใช้โทนสีที่เข้ากัน ลักษณะหน้าตาที่น่าสนใจนั้นขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล
7. การใช้งานอย่างไม่จำกัด ผู้ใช้ส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้มากที่สุด เลือกใช้บราวเซอร์ชนิดใดก็ได้ในการเข้าถึงเนื้อหา สามารถแสดงผลได้ทุกระบบปฏิบัติการและความละเอียดหน้าจอต่างๆ กันอย่างไม่มีปัญหา เป็นลักษณะสำคัญสำหรับผู้ใช้ที่มีจำนวนมาก
8. คุณภาพในการออกแบบ การออกแบบและเรียบเรียงเนื้อหาอย่างรอบคอบ สร้างความรู้สึกว่าเว็บไซต์มี….คุณภาพ ถูกต้อง และเชื่อถือได้
9. ระบบการใช้งานที่ถูกต้อง การใช้แบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลต้องสามารถกรอกได้จริง ใช้งานได้จริง ลิงค์ต่างๆ จะต้องเชื่อมโยงไปหน้าที่มีอยู่จริงและถูกต้อง ระบบการทำงานต่างๆ ในเว็บไซต์จะต้องมีความแน่นอนและทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง
10.
พื้นฐานในการออกแบบเว็บไซต์ที่ดี
มีเนื้อหาเป็นประโยชน์ ตรงกับที่ผู้ใช้ต้องการ
มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหา และพัฒนาเว็บไซต์อยู่เสมอ
ใช้เวลาในการดาวน์โหลดน้อย แสดงผลเร็ว ใช้งานที่สะดวก เข้าใจง่าย
แหล่งอ้างอิง

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต


คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
ลินดา เฮอร์นดอน
ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย


5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ

สรุป
โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหายข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้องแหล่งประกาศซื้อขาย ของผิดกฎหมายขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ
เทคโนโลยีที่ทันสมัย แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่นและข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง และมาจากปัญหาอื่นๆ เช่น บุคคลที่มีจุดประสงค์ร้าย

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว


ชื่อ  จิระชัย      นามสกุล   อ๊อดทรัพย์ ชื่อเล่น ดรีม
เชื่อชาติ   ไทย        สัญชาติ   ไทย        ศาสนา   พุทธ     สถานะภาพ   โสด
วันเกิดที่  19  เดือนธันวาคม  พ.ศ.  2538     อายุ  18  ปี
ที่อยู่ปัจจุบัน
·   บ้านเลขที่ 3/4 ม.4  ต.วังหิน อ.เมือง จ.ตาก
·   หมายเลข0805067727
นิสัยส่วนตัว   เงียบ
ความสามารถพิเศษ   นอน
คติประจำใจ -
ความใฝ่ฝันในอนาคต  นายสิบ
งานอดิเรก  ขับรถเกี่ยวข้าว
วิชาที่ชอบ ไทย     
อาหารที่ชอบ  กระเพราหมูกรอบ
สีที่ชอบ    สีแดง    สีขาว      สีชมพู
หนังสือที่ชอบอ่าน   การ์ตูน
เพลงที่ชอบฟัง   อินดี้ สากล
หนังที่ชอบดู       หนังผี
สิ่งที่อยากทำมากที่สุด   ต้องการเรียนให้จบปริญญาตรี    มีงานทำที่มั่นคงและทำให้พ่อแม่มีความสุข

ข้อดีข้อเสียของอินเทอร์เน็ต



ข้อดี ข้อเสียของอินเตอร์เน็ต

    ข้อดีของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตประกอบไปด้วยบริการที่หลากหลาย   ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการมากมาย ดังต่อไปนี้
    1. ค้นคว้าข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น งานวิจัย บทความในหนังสือพิมพ์ ความก้าวหน้าทางกาแพทย์ ฯลฯ ได้จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก เช่น ห้องสมุด สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการเดินทางและสามารถสืบค้นได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
  2. ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากการรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างๆ อยู่ รวมทั้งอ่านบทความเรื่องราวที่ลงในนิตยสารหรือวารสารต่างๆ ได้ฟรีโดยมีทั้งข้อความและภาพประกอบด้วย
   3. รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเงินค่าตราไปรษณียากร ถึงแม้จะเป็นการส่งข้อความไปต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเหมือนการส่งจดหมาย การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้นอกจากจะส่งข้อความตัวอักษรแบบจดหมายธรรมดาแล้วยังสามารถส่งแฟ้มภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว และเสียงพร้อมกันไปได้ด้วย
  4. สนทนากับผู้อื่นที่อยู่ห่างไกลได้ทั้งในลักษณะการพิมพ์ข้อความและเสียง
  5. ร่วมกลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าวเพื่อแสดงความคิดเห็น หรือพูดคุยถกปัญหากับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นการขยายวิสัยทัศน์ในเรื่องที่สนใจนั้นๆ
  6. ถ่ายโอนแฟ้มข้อความ ภาพ และเสียงจากที่อื่นๆ รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ ได้จากแหล่งที่มีผู้ให้บริการ
  7.ตรวจดูราคาสินค้าและสั่งซื้อสินค้ารวมทั้งบริการต่างๆได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปห้างสรรพสินค้า
  8. ให้ความบันเทิงหลายรูปแบบ   เช่น  การฟังเพลง รายการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมไปถึงการแข่งขันเกมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก  
  9. ติดประกาศข้อความที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบได้อย่างทั่วถึง
  10. ให้เสรีภาพในการสื่อสารทุกรูปแบบแก่บุคคลทุกคน

ข้อเสียของอินเทอร์เน็ต
ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ใช้มากมาย   แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ   ดังต่อไปนี้
    1. อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ทุกคนจึงสามารถสร้างเว็บไซด์หรือติดประกาศข้อความได้ทุกเรื่อง บางครั้งข้อความนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการรับรอง เช่น ข้อมูลด้านการแพทย์หรือผลการทดลองต่างๆ จึงเป็นวิจารณญาณของผู้อ่านที่จะต้องไตร่ตรองข้อความที่อ่านนั้นด้วยว่าควรจะเชื่อถือได้หรือไม่
    2. นักเรียนและเยาวชนอาจติดต่อเข้าไปในเว็บไซด์ที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออาจยั่วยุอารมณ์ ทำให้เป็นอันตรายตัวตัวเองและสังคม

ถ้านักเรียนอยากจะให้เป็นของขวัญปีใหม่กับเพื่อน นักเรียนจะใช้โปรแกรมใดทำของขวัญชิ้นนั้น สาเหตุและเหตุผล


ถ้านักเรียนอยากจะให้เป็นของขวัญปีใหม่กับเพื่อน นักเรียนจะใช้โปรแกรมใดทำของขวัญชิ้นนั้น
สาเหตุและเหตุผล
                ใช้โปรแกรมPhotoshop
เหตุผล
                เหตุผลที่ใช้โปรแกรมPhotoshopมีความหลากหลายในการแต่งภาพสามารถปรับแต่งสีให้สดใส สวยงาม สามารถทำกราฟิกได้ การแต่งตัวหนังสือให้มีความหลากหลายสวยงาม ดูแล้วทำให้คนรับรู้สึกมีความสุข ประทับใจ

ความหมายเทคโนโลยี

เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรวัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆเทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือเทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
ลักษณะของเทคโนโลยี
สามารถจำแนกออกได้เป็น ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือ
ความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
เทคโนโลยีชีวภาพ ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของเทคโนโลยีชีวภาพในอนาคต คือ การพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ เพื่อเพิ่มผลผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก การปฏิวัติทางเทคโนโลยีชีวภาพที่กำลังจะเกิดขึ้น จะมีความสำคัญต่อมนุษยชาติไม่น้อยไปกว่าการปฏิวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศในขณะที่ประเทศไทยกำลังซวนเซอันเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจ หลายคนหันมาคิดได้ว่า เราต้องหาทางตั้งตัวใหม่ ผลิตสินค้าและ เปิดบริการใหม่ๆ แทนที่จะอาศัยวัตถุดิบและค่าแรงราคาถูก ซึ่งเคยเป็นข้อได้เปรียบของไทย แนวทางใหม่คงต้องเป็นการใช้สมอง ใช้ความสามารถที่เรามีอยู่บ้าง มาเพิ่มพูนและผสมผสาน กับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อผลิตสินค้า หรือ เสนอบริการที่สามารถ แข่งขันในตลาดโลกได้
โชคดีที่จังหวะเหมาะของประเทศไทยอาจกำลังมาถึงในช่วงต้น ศตวรรษหน้านี้ เทคโนโลยีในโลกกำลังก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ เทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็น เทคโนโลยีสำคัญ เปรียบดัง เชื้อเพลิงที่ เครื่องยนต์ของระบบเศรษฐกิจไทยกำลังขาดแคลนอยู่ในขณะนี้ ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นทุนเดิมอยู่มากมาย คนไทยเอง ก็มีความชำนาญทางการเกษตร และด้านการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องของการใช้ เทคโนโลยีชีวภาพเช่นกัน ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า เราจะต้องลงทุนเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีชีวภาพอย่างจริงจังและต่อเนื่องเทคโนโลยีชีวภาพ(Biotechnology) 

เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำสิ่งมีชีวิต และผลผลิตมาใช้ประโยชน์ ถ้ามองอย่างกว้างๆ บ้านเรามีเทคโนโลยีดังกล่าวมานานมากแล้ว ตั้งแต่ยังไม่ได้ติดต่อกับตะวันตกด้วยซ้ำ การทำน้ำปลา ซีอิ๊ว การหมักอาหาร หมักเหล้า ล้วนเป็นเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม เช่นเดียวกับ การปรับปรุงพันธุ์พืช สัตว์ให้มีผลผลิตมากขึ้น คุณภาพดีขึ้น การนำสมุนไพรมาใช้รักษาโรค บำรุงสุขภาพ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ดี ปัจจุบันเมื่อพูดถึงเทคโนโลยีชีวภาพ เรามักหมายถึง เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีวิทยาศาสตร์เป็นรากฐาน ประกอบด้วยหลายสาขาวิชา ผสมผสานกันอยู่ ตั้งแต่ชีววิทยา เคมี ไปจนถึงวิศวกรรม อาจเรียกได้ว่า เป็นสหวิทยาการที่นำความรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตั้งแต่เรื่องการขยายและปรับปรุงพันธุ์สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย การนำผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตไปแปรรูป เป็นอาหารหรือยา รวมถึงกระบวนการที่ใช้แปรรูปผลผลิตดังกล่าว ในระดับโรงงาน และกระบวนการที่ใช้สิ่งมีชีวิตเช่น จุลชีพในการบำบัดน้ำเสีย หรือ การนำของเสียไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปทำปุ๋ย เป็นต้น

ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา วิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่เราเรียกว่า ชีววิทยาโมเลกุล (Molecular Biology) ได้ทำให้เราเข้าใจกลไก การสืบพันธุ์และการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตอย่างละเอียดลึกซึ้ง ที่น่าทึ่งมากก็คือ จากความเข้าใจนี้ เราสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรม ของสิ่งมีชีวิตได้ เช่น ให้จุลชีพผลิต ฮอร์โมนหรือโปรตีนของมนุษย์ที่ใช้เป็น
ยา ซึ่งสามารถทำในระดับอุตสาหกรรมได้ง่ายกว่าและดีกว่าเดิม ที่ต้องนำมาจาก สัตว์ หรือ จากเลือดมนุษย์

ปัจจุบันเราสามารถใส่ลักษณะพิเศษทางพันธุกรรมเข้าไปในพืชหรือสัตว์ ทำให้ได้พืชที่สามารถ ต้านทานแมลงที่เป็นศัตรูของมันได้ หรือ สัตว์ที่ผลิตวัคซีนในน้ำนมของมันได้ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตนี้เรียกว่า พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) ทั้งหมดทำได้โดยการตัดต่อยีน
ความหมายของสารสนเทศ(Information)
ซาเรซวิค และวูด (Saracevic and Wood 1981 : 10) ได้ให้คำนิยามสารสนเทศไว้ นิยามดังนี้
1. Information is a selection from a set of available message, a selection which reduces uncertainty. สารสนเทศ คือ การเลือกสรรจากชุดของข่าวสารที่มีอยู่ เป็นการเลือกที่ช่วยลดความไม่แน่นอน หรือกล่าวได้ว่า สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้มีเลือกสรรมาแล้ว (เป็นข้อมูลที่มีความแน่นอนแล้ว)จากกลุ่มของข้อมูลที่มีอยู่
2. Information as the meaning that a human assigns to data by means of conventions used in their presentation. สารสนเทศ คือ ความหมายที่มนุษย์ (สั่ง) ให้แก่ ข้อมูล ด้วยวิธีการนำเสนอที่เป็นระเบียบแบบแผน
3. Information is the structure of any text-which is capable of changing the image-structure of a recipient. (Text is a collection of signs purposefully structured by a sender with the intention of changing the image-structure of recipient) สารสนเทศ คือ โครงสร้างของข้อความใดๆ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทาง จินตภาพ (ภาพลักษณ์) ของผู้รับ (ข้อความ หมายถึง ที่รวมของสัญลักษณ์ต่างๆ มีโครงสร้างที่มี จุดมุ่งหมาย โดยผู้ส่งมีเป้าหมายที่จะ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทาง จินตภาพ(+ความรู้สึกนึกคิด)ของผู้รับ(สาร)
4. Information is the data of value in decision making. สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีค่าในการตัดสินใจ
นอกจากนั้นยังมีความหมายที่น่าสนใจดังนี้
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีการปรับเปลี่ยน (Convert) ด้วยการจัดรูปแบบ (Formatting) การกลั่นกรอง (Filtering) และการสรุป (Summarizing) ให้เป็นผลลัพธ์ที่มี รูปแบบ (เช่น ข้อความ เสียง รูปภาพ หรือวีดิทัศน์) และเนื้อหาที่ตรงกับ ความต้องการ และเหมาะสมต่อการนำไปใช้ (Alter 1996 : 29, 65, 714)
สารสนเทศ คือ ตัวแทนของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล (Process) การจัดการ (Organized) และการผสมผสาน (Integrated) ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Post 1997 : 7)
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีความหมาย (Meaningful) หรือเป็นประโยชน์ (Useful) สำหรับบางคนที่จะใช้ช่วยในการ ปฏิบัติงานและการจัดการ องค์การ (Nickerson 1998 : 11)
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีความหมาย (Schultheis and Sumner 1998 : 39)
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีความหมายเฉพาะภายใต้บริบท (Context) ที่เกี่ยวข้อง (Haag, Cummings and Dawkins 2000 : 20)
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการปรับเปลี่ยน (Converted) มาเป็นสิ่งที่มีความ หมาย (meaningful) และเป็น ประโยชน์ (Useful) กับเฉพาะบุคคล (O’Brien 2001 : 15)
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล หรือข้อมูลที่มีความหมาย (McLeod, Jr. and Schell 2001 : 12)
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้รับการจัดระบบเพื่อให้มีความหมายและมีคุณค่าสำหรับ ผู้ใช้ (Turban, McLean and Wetherbe 2001 : 7)
สารสนเทศ คือ ที่รวม (ชุด) ข้อเท็จจริงที่ได้มีการจัดการแล้ว ในกรณีเช่น ข้อเท็จจริงเหล่านั้นได้มีการเพิ่มคุณค่า ภายใต้คุณค่าของข้อเท็จจริงนั้นเอง (Stair and Reynolds 2001 : 4)
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้รับการประมวลผล หรือปรุงแต่ง เพื่อให้มีความหมาย และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ (เลาว์ดอน และเลาว์ดอน 2545 : 6)
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายต่อผู้รับ และมีคุณค่าอันแท้จริง หรือ คาดการณ์ว่าจะมีค่าสำหรับการดำเนินงาน หรือการตัดสินใจใน ปัจจุบัน หรืออนาคต (ครรชิต มาลัยวงศ์ 2535 : 12)
สารสนเทศ คือ เรื่องราว ความรู้ต่างๆ ที่ได้จากการนำข้อมูลมาประมวลผลด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง และมี การผสมผสานความรู้ หรือหลักวิชาที่เกี่ยวข้อง หรือความคิดเห็น ลงไปด้วย (กัลยา อุดมวิทิต 2537 :3)
สารสนเทศ คือ ข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นจนได้ ข้อสรุป เป็นข้อความรู้ที่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเน้นที่การเกิดประโยชน์ คือความรู้ที่เกิดขึ้นเพิ่มขึ้นกับผู้ใช้(สุชาดา กีระนันท์ 2542 : 5)
สารสนเทศ คือ ข่าวสาร หรือการชี้แจงข่าวสาร (ปทีป เมธาคุณวุฒิ 2544 : 1)
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล ผ่านการวิเคราะห์ หรือสรุปให้อยู่ในรูปที่มีความหมายที่สามารถนำไป ใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ (จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ 2544 : 4)
สารสนเทศ คือ ผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ ที่สามารถนำไป ประกอบการทำงาน หรือสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร ทำให้ผู้บริหารสามารถแก้ไขปัญหา หรือทางเลือกในการ ดำเนิน งานอย่างมีประสิทธิภาพ (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล 2545 : 40)
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผล หรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและ คุณค่าสำหรับผู้ใช้ (ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ 2545 : 9)
สารสนเทศ คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูลดิบ (Raw Data) ประกอบไปด้วย ข้อมูลต่างๆ ที่เป็น ตัวอักษร ตัวเลข เสียง และภาพ ที่นำไปใช้สนับสนุนการ บริหารและการตัดสินใจของผู้บริหาร (นิภาภรณ์ คำเจริญ 2545 : 14)
สรุป สารสนเทศ คือ ข้อมูล ข่าวสาร ข่าว ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียง สัญลักษณ์ หรือกลิ่น ที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการประมวลผล ด้วยวิธีการที่ เรียก ว่า กรรมวิธีจัดการข้อมูล (Data Manipulation) และผลที่ได้อาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของสื่อประเภทต่าง เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ แผนที่ แผ่นใส ฯลฯ และเป็นผลลัพธ์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ตรงและทันกับความต้องการ

หรือ สารสนเทศ คือ ผลลัพธ์ที่มีความถูกต้อง ตรงตามต้องการ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นผลลัพธ์ที่ได้มาจากการนำข้อมูลมาประมวลผลด้วยกรรมวิธีจัดการข้อมูล

หรือ สารสนเทศ คือ ผลลัพธ์ที่ได้มาจากการนำข้อมูลมาประมวลผลด้วยกรรมวิธีจัดการข้อมูล ซึ่งจะต้องเป็น ผลลัพธ์ที่มี คุณสมบัติถูกต้อง ตรงตามต้องการ และทันต่อความต้องการของผู้ใช้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง 
ความหมายของเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
Information and Communication Technology แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง
          เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย (ความ หมายตามที่ให้ไว้ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความจำเป็น ต่อชีวิตประจำวันทุกวันนี้อย่างยิ่ง จึงตั้งหน่วยงานขึ้นรองรับและบริการ เกิดเป็นกระทรวงใหม่ชื่อ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร-Ministry of Information and Communication Technology” หรือกระทรวงไอซีที-ICT         
  เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) , ไอ ที (IT) หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร (information and communications technology) , ไอซีที (ICT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผล สารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่งแปลงจัดเก็บประมวลผลและค้นคืนสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย (ครูนายู ลา : 2008)
จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกผ่านกระบวนการต่างๆกลั่นกรองมาเป็นข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งเป็นทั้งเทคโนโลยีและการสื่อสาร อาจเรียกได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนับตั้งแต่ การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่






คู้มือการใช้microsoft excel 2007

หน้าจอของ MS Excel

เมื่อเปิดโปรแกรม MS Excel ครั้งแรก จะมีกรอบหน้าต่าง สำหรับอำนวยความสะดวก เช่น ให้เปิดไฟล์ใหม่ หรือกำหนดค่าต่าง ๆ ทำให้หน้าจอของ Excel ถูกกินพื้นที่ไป ในขั้นแรกนี้ ให้ท่านคลิกที่ปุ่ม           เพื่อปิดหน้าต่างนี้ ดังรูป (ในวงรีสีแดง)



แต่ละส่วนของหน้าจอมีรายละเอียด ดังนี้

Title Bar


ส่วนนี้อยู่บนสุดของหน้าจอ จะบอกชื่อไฟล์ที่กำลังทำงาน ถ้ายังไม่ได้บันทึกไฟล์ Excel จะตั้งขื่อให้เป็น Book และตามด้วยตัวเลข เช่น Book1.xls, Book2.xls เป็นต้น แต่ถ้ามีการบันทึกไฟล์แล้ว Excel จะใช้ชื่อที่บันทึก

Menu Bar


เมนูบาร์ อยู่ถัดลงมาจาก Title Bar เราใช้เมนูบาร์เพื่อบอกให้ Excel ทำงานตามที่เราต้องการ เช่น การบันทึกไฟล์ การจัดการเกี่ยวกับข้อความต่าง ๆ การจัดรูปแบบ Cell เป็นต้น ในแต่ละหัวข้อ เช่น File, Edit, View, ... เมื่อนำเมาส์ไปคลิกจะเกิดเมนูย่อย ซึ่งเราสามารถเลือกได้ โดยใช้เมาส์คลิก หรือ ใช้ปุ่มลูกศรขึ้นลง บนแป้นพิมพ์ เลื่อนแถบไปที่เมนูที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Enter เมนูที่มีเครื่องหมาย  แสดงว่า มีเมนูย่อยต่อไปอีก เมนูที่มีลักษณะสีจาง ๆ แสดงว่า ในสภาพนี้ ยังไม่สามารถใช้เมนูนี้ได้

เราสามารถกำหนดให้ Excel แสดงเมนูแบบเต็มทุกเมนู หรือแสดงเฉพาะเมนูที่ใช้บ่อย ๆ ก็ได้ การตั้งให้แสดงเมนูทุกเมนู ทำดังนี้

ใช้เมาส์ชี้ที่ Tools
คลิกเมาส์ 1 ครั้ง
กดปุ่มลูกศรชี้ลง บนแป้นพิมพ์ เพื่อเลื่อนแถบสว่าง มาที่ Customize
กดปุ่ม Enter บนแป้นพิมพ์
ใช้เมาส์คลิกที่แถบ              Options
จะเห็น Always show full menus ให้คลิกในกล่องสี่เหลี่ยมที่อยู่หน้าข้อความนี้
คลิกปุ่ม ปิด ( ) เพื่อปิดเมนู
Toolbars


Standard Toolbars(เครื่องมือมาตรฐาน)



Formatting Toolbars (เครื่องมือสำหรับจัดรูปแบบ)

กลุ่มเครื่องมือเหล่านี้ เป็นเครื่องมือที่ใช้บ่อย ๆ เราสามารถจะให้แสดงที่หน้าจอหรือไม่แสดงก็ได้ นอกจากนี้ เรายังสามารถเปลี่ยนเครื่องมือแต่ละตัวได้ ถ้าหน้าจอของท่านไม่มีเครื่องมือเหล่านี้ สามารถนำมาแสดงได้ ดังนี้

ไปที่ View แล้วคลิกเมาส์ปุ่มซ้าย 1 ครั้ง
กดปุ่มลูกศรชี้ลง เพื่อเลื่อนแถบสว่าง จนกระทั่งถึง Toolbars
กดปุ่มลูกศรขี้ไปทางขวา จะเห็น ทั้ง Standard Toolbars และ Formatting Toolbars
คลิกให้เกิดลูกศร ที่หน้า Toolbars ทั้งสอง เพื่อให้แสดงที่หน้าจอ ถ้ามีลูกศรอยู่แล้ว แสดงว่า แถบเมนูทั้งสองแสดงอยู่แล้วที่หน้าจอ ถ้าไม่ต้องการแสดง ก็คลิกลูกศรออก
สัญญลักษณ์บน Toolbars ที่ควรรู้จัก

                เปิด ไฟล์ใหม่ หรือเปิด Workbook ใหม่
                เปิดงานที่มีอยู่แล้ว โปรแกรมจะถามหาชื่อไฟล์ และที่อยู่
                บันทึก หรือจัดเก็บไฟล์ ถ้าเป็นการบันทึกครั้งแรก โปรแกรมจะถามชื่อและที่อยู่ แต่ถ้าเคยบันทึกแล้ว โปรแกรมจะไม่ถามอะไรทั้งสิ้น แต่จะทำการบันทึกทันทีโดยใช้ชื่อเดิม
                สำหรับสั่งพิมพ์ เมื่อกดปุ่มนี้ Excel จะพิมพ์ข้อความทันที ถ้าต้องการตั้งค่าต่าง ๆ ให้ใช้ File > Print เพื่อเปิดหน้าจอการพิมพ์
                สำหรับคัดลอกข้อความใน Cell เมื่อคลิกปุ่มนี้ Cell ปัจจุบันที่ถูกเลือก จะมีเส้นประวิ่งรอบ ๆ Cell แสดงว่า Cell นี้กำลังถูกคัดลอก ถ้าต้องการเอาเส้นประออก ให้กดปุ่ม Esc เพื่อยกเลิก
                สำหรับ นำข้อความที่ถูกคัีดลอก หรือ copy นำมาแสดงใน Cell ใด Cell หนึ่ง เครื่องมือนี้ ทำงานร่วมกับ เครื่องมือคัดลอก () ถ้าไม่มีการคัดลอก เครื่องมือนี้ก็จะใช้ไม่ได้ สามเหลี่ยมเล็ก ๆ ข้าง ๆ มีตัวเลือกให้เลือกว่าจะนำมาแสดงอย่างไร เช่น
Formula นำมาแสดงเฉพาะสูตร
Value นำมาแสดงเฉพาะค่้าตัวเลขหรือตัวอักษร ไม่เอารูปแบบ
No Borders นำมาแสดงแบบไม่มีกรอบ ถ้าของเดิมมีกรอบ
Past Spacial กำหนดเอง เช่น ไม่เอาสีพื้น ฯลฯ จะมีหน้าจอให้เลือก
                สำหรับการรวมตัวเลขใน Cell ที่เลือก สามเหลี่ยมข้าง ๆ จะสามารถเลือกฟังก์ชั่นอย่างอื่น ๆ อีกได้ เช่น การหาค่าเฉลี่ย (Average) การนับจำนวน(Count) การหาค่าสูงสุด(Max) การหาค่าต่ำสุด(Min) และฟังก์ชั่นอื่น ๆ
                สำหรับการเรียงข้อมูลใน Cell ที่เลือก โดยเรียงจากน้อยไปหามาก
                สำหรับการเรียงข้อมูลใน Cell ที่เลือก โดยเรียงจากมาก ไปหาน้อย
                สำหรับการสร้างกราฟแบบต่าง ๆ เช่น กราฟแท่ง กราฟวงกลม เป็นต้น
Formula Bar


Formula Bar สามารถเลือกเปิด หรือปิดได้ โดยไปที่ View > Formular Bar ถ้าเปิดอยู่จะเห็นเป็นแถบดังภาพข้างบนนี้ ส่วนที่อยู่ซ้ายสุด คือ ชื่อของ cell และช่องถัดมา เป็นส่วนที่จะใส่ข้อมูลใน cell นี้ หรือใส่สูตรของ Excel ลงใน cell นี้

Status Bar


Status Bar สามารถเลือกเปิด หรือปิดได้ โดยไปที่ View > Status Bar ถ้าข้างหน้าของ Status Bar มีเครื่องหมายถูกอยู่ แสดงว่า Status Bar กำลังเปิดอยู่
Status Bar บอกสถานะของโปรแกรม คำว่า Ready ทางด้านซ้าย บอกว่า ขณะนี้โปรแกรมพร้อมรับคำสั่งจากท่าน ส่วนทางด้านขวามือจะมีข้อมูลหลายอย่าง เช่น

แสดงสถานะของปุ่ม Num Lock ถ้าปุ่มเปิดอยู่ จะเห็นคำว่า NUM ปุ่มนี้ ถ้าไม่เปิด จะไม่สามารถใช้ปุ่มกลุ่มตัวเลขด้านขวามือบนแป้นพิมพ์ได้
แสดงสถานะของปุ่ม Caps Lock ถ้าปุ่มนี้ ถูกเปิดอยู่ จะเห็น CAPS ปรากฎ ปุ่มนี้ใช้สำหรับพิมพ์อักษรแถวบน บนแป้นพิมพ์
แผ่นงาน หรือ Worksheets


โปรแกรม MS Exel ประกอบด้วย แผ่นข้อมูล หรือ Worksheets จำนวนหลายแผ่น ซึ่งสามารถคลิกเลือกได้จากแถบ Sheet1, Sheet2, ... ข้างล่าง เราสามารถเพิ่มแผ่นข้อมูลให้มากขึ้นได้ และสามารถเปลี่ยนชื่อแผ่นข้อมูล จากคำว่า Sheet1 เป็นชื่อที่เราต้องการได้
ในแต่ละแผ่นข้อมูล ประกอบไปด้วย คอร์ลัมน์หรือสดมภ์(colomn) และแถว(rows) คอร์ลัมน์จะเริ่มตั้งแต่ ไปจนกระทั่งถึง IV และแถวจะเริ่มตั้งแต่ 1 จนถึง 65536 ปัญหาอยู่ที่ว่า ในเมื่อแผ่น worksheet กว้างมาก เราจะพิมพ์อย่างไร Excel จะพิมพ์ข้อความทีละหน้า ขนาดความกว้างยาวของหน้าของหน้าตามที่กำหนดใน Page Setup โดยพิมพ์จากบนลงมาล่าง เพื่อให้แน่ใจว่า สิ่งที่พิมพ์จะไม่เกินขอบขวาของกระดาษ เราควรเข้าไปที่ Page Setup เสียก่อน เพื่อให้โปรแกรม ทำเส้นประบอกขอบเขตของกระดาษที่ใช้ปัจจุบัน ซึ่งทำได้ดังนี้

การแสดงเส้นประบอกขอบเขตของกระดาษ

ไปที่ File > Page Setup...
โปรแกรมจะเปิดหน้าจอ ให้ตั้งค่าหน้ากระดาษ

คลิก OK ยอมรับค่าที่โปรแกรมตั้งไว้ให้แล้ว
เมื่อมาดูที่ Worksheet จะเห็นเส้นประ บอกขอบเขตของกระดาษ ถ้าพิมพ์นอกขอบเส้นประ ข้อความนั้นจะไม่ถูกพิมพ์ เมื่อสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์

การปรับความกว้างและความสูงของ cell

ถ้าต้องการขยายความสูงของแต่ละแถว ให้นำเคอร์เซอร์ไปวางไว้ที่เส้นขอบล่้างของแถวที่ต้องการขยาย เมื่อเคอร์เซอร์เปลี่ยนรูปร่างเป็นลูกศร 2 หัว เหมือนในวงกลมสีแดงในภาพ ให้กดเมาส์ค้างไว้ แล้วลากลงมา

ถ้าต้องการขยายความกว้างหรือ ลดความกว้างของคอร์ลัมน์ แต่ละคอร์ลัมน์ ให้นำเคอร์เซอร์ ไปวางไว้ที่เส้นขอบ ของคอร์ลัมน์ที่ต้องการขยาย เมื่อเคอร์เซอร์เปลี่ยนรูปร่างเป็นลูกศร 2 หัว เหมือนในวงกลมสีแดงในภาพ ให้กดเมาส์ค้างไว้ แล้วลากไปทางซ้ายหรือทางขวา ได้ตามต้องการ

ถ้าใน ช่อง Cell มีลักษณะ ##### แสดงว่า ความกว้างของ ช่อง Cell น้อยไป ต้องขายออกจึงจะเห็นข้อมูลได้

ถ้าต้องการขยายหรือหดความกว้างของ คอร์ลัมน์ ให้เท่ากันทุกคอร์ลัมน์ สามารถทำได้ ดังนี้
นำเคอร์เซอร์ไปวางไว้ที่ช่องมุมซ้ายด้านบน เมื่อเคอร์เปลี่ยนเป็นรูปกากบาท ให้คลิก จะเห็นว่า Sheet ทั้ง Sheet ถูกเลือกทั้งหมด

จากนั้นจึงนำเคอร์เซอร์ไปวางไว้ที่เส้นคั่นระหว่างคอร์ลัมน์ เมื่อเคอร์เซอร์เปลี่ยนเป็นรูปลูกศรสองทาง ให้กดเมาส์ค้างไว้แล้วลากไปทางซ้ายหรือขวาตามต้องการ

ความกว้างของทุก Column จะเปลี่ยนไป และเท่ากันทุก Column

การลบคอร์ลัมน์ และแถว

เราสามารถลบ คอร์ลัมน์ทั้งคอร์ลัมน์ หรือ ลบแถวทั้งแถวได้ สมมติว่าต้องการลบ คอร์ลัมน์ และ มีวิธีการ ดังนี้

คลิกที่ชื่อ คอร์ลัมน์ กดเมาส์ค้างไว้ สังเกตเคอร์เซอร์ จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศร ชี้ลง แล้วลากไปที่ คอร์ลัมน์ D
จะเกิดแถบสว่าง ดังภาพ

ไปที่เมนู Edit > Delete
คลิกที่ cell อื่น ไป 1 ครั้ง
การลบแถว ก็ทำในทำนองเดียวกัน เพียงแต่มาเลือกชื่อแถว คือตรงบริเวณ หมายเลขแถวที่ต้องการลบ
เมื่อลบไปแล้ว แต่้เปลี่ยนใจไม่ลบ ไห้ไปที่เมนู Edit > Undo Delete หรือคลิกที่รูป  บนแถบเครื่องมือ
การเพิ่มคอร์ลัมน์
บางครั้ง เราอาจต้องการเพิ่ม หรือ แทรก คอร์ลัมน์ ก็สามารถทำได้ โดยข้อมูลจะถูกกันออกไปอีก 1 คอร์ลัมน์ การเพิ่มคอร์ลัมน์ ทำดังนี้

คลิกที่ชื่อของคอร์ลัมน์ จะเกิดแถบสว่างยาวตลอดคอร์ลัมน์

ไปที่เมนู Insert > Columns

คลิก 1 ครั้ง คอร์ลัมน์ใหม่จะแทรกเข้าทางขวาของคอร์ลัมน์ที่ถูกเลือก จากภาพ จะสังเกตเห็นว่า ข้อมูลเดิมถูกย้ายไปอีกคอร์ลัมน์ และชื่อของคอร์ลัมน์ จะยังคงเรียงเหมือนเดิม

คลิกที่ไหนก็ได้ 1 ครั้ง เพื่อลบแถบสว่างออกไป
การเพิ่มแถว หรือ Rows
การเพิ่ม หรือ แทรก Rows มีวิธีการคล้ายกับการเพิ่ม หรือแทรก columns ซึ่งมีวิธีการ ดังนี้

คลิกที่ชื่อของ rows จะเกิดแถบสว่างยาวตลอดแถว

ไปที่เมนู Insert > Rows แล้วคลิก แถว์ใหม่จะแทรกเหนือแถวที่ถูกเลือก ในภาพจะเห็นข้อมูลถูกกันลงมาเป็นอีกแถวหนึ่ง แต่ชื่อของแถว ยังเหมือนเดิม

คลิกที่ไหนก็ได้ 1 ครั้ง เพื่อลบแถบสว่างออกไป
ข้อควรระวัง การแทรกแถว เป็นการแทรกตลอดแนว ถ้าข้อมูลที่มองไม่เห็นในหน้าจอ แต่อยู่แถวที่จะต้องถูกแทรกออกไป อาจจะทำให้เสียรูปแบบ หรือเกิดแถวว่างก่อนหน้าข้อมูลได้ ดังนั้น ก่อนการแทรกแถวต้องตรวจสอบให้ดีว่า การแทรกแถวจะไม่ทำให้ไปกระทบกับข้อมูลอื่น ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ
การแบ่งหน้าจอ

เนื่องจาก Excel เป็น Sheet ใหญ่ บางเราต้องการดูข้อมูลจากหลาย ๆ แห่งพร้อม ๆ กัน หรือ ต้องการดูหัวตารางเพื่อทำให้การกรอกข้อมูลถูกต้อง ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นต้องแบ่งหน้่าจอ Excel ออกเป็นส่วน ๆ ซึ่งสามารถ Scroll ดูได้ทุกส่วน ซึ่งมีวิธีการดังนี้
ที่มุมบนด้านขวาต่อจาก Scroll bar และด้านล่างของหน้าจอ จะมีแถบสำหรับแบ่งหน้าจอ ดังภาพ

เมื่อนำเคอร์เซอร์ ไปวางที่ตรงนี้ เคอร์เซ่อร์จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศรสองทาง ซึ่งแสดงว่า สามารถลากแบ่งได้

ให้กดเมาส์และลากแบ่งหน้าจอได้

การ Freeze Pane

ทางเลือกของการแบ่งหน้าจออีกอย่างหนึ่งคือการทำให้หน้าจอส่วนหนึ่งไม่เคลื่อนไหว ซึ่งต่างจากการแบ่งหน้าจอ ที่หน้าจอทุกส่วนสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยการใช้ Scroll bar แต่การ freeze pane จะทำให้ส่วนที่ถูก freeze ไม่เคลือนที่ มีประโยชน์ในการทำให้ส่วนหัวของตารางคงที่ ในขณะที่ส่วนที่เติมข้อมูลเคลื่อนที่ไปได้เรื่อย ๆ
การ freeze ทำได้ ดังนี้

เลือกแถวที่อยู่ใต้ส่้วนที่ต้องการทำให้คงที่

ไปที่ Window > Freeze Panes

ส่วนบนจะถูกตรึงอยู่กับที่ แต่ส่วนล่างสามารถเลื่อนไปได้ จะเห็นมีเส้นสีดำคั่นระหว่างทั้งสองส่วน

ถ้าต้องการยกเลิก ก็ไปที่ Window > Unfreeze Panes

การเรียกชื่อ ช่อง cell

การเรียกชื่อ cell จะเรียกโดยใช้แถวและคอร์ลัมน์ เช่น จะเรียก cell ที่อยู่มุมบนสุดด้านซ้ายมือ ว่า A1 เพราะ เป็น cell ที่อยู่ใน คอร์ลัมน์ และอยู่ในแถวที่ 1 ดังภาพ


cell ต่าง ๆ เหล่านี้ มีไว้สำหรับใส่ข้อมูล เพื่อที่โปรแกรม Excel จะสามารถนำไปคำนวน หรือใช้งานได้ การอ้างถึงข้อมูลจึงต้องอ้างโดยเรียกชื่อ cell ว่าข้อมูลอยู่ใน cell ใด

การเคลื่อนไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บน Worksheet

เนื่องจากในหน้า 1 หน้า หรือ Worksheet 1 แผ่น ประกอบไปด้วย Cell ต่าง ๆ จำนวนมาก การเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ นอกจากจะใช้ Scroll bar ทางด้านขวามือของจอ และด้านล่าง


หรือ ใช้เมาส์คลิกโดยตรงที่ Cell แล้ว ยังสามารถใช้ปุ่ม Enter กลุ่มของลูกศรบนแป้นพิมพ์ และอื่น ๆ อีก ดังนี้

ใช้ปุ่ม Enter
เมื่อพิมพ์ข้อความใน Cell และกดปุ่ม enter โปรแกรม Excel จะทำการประมวลผล และแสดงค่าผลลัพธ์ต่าง ๆ เสร็จแล้วก็จะออกจากตำแหน่งของ Cell ปัจจุบัน โดยจะเลื่อนลงมาข้างล่าง 1 ตำแหน่ง จะสังเกตว่า กรอบสีดำ้ย้ายลงมาข้างล่าง ดังนี้

ก่อนการกดปุ่ม Enter

หลังการกดปุ่ม Enter

จะเห็นว่า กรอบเลื่อนจากตำแหน่งเดิม คือ B1 มาเป็นตำแหน่งใหม่ คือ B2

ใช้แป้นกลุ่มลูกศร
ใช้สำหรับการเปลี่ยน cell ทีละ cell เช่น

กดปุ่มลูกศรลง เมื่อต้องการเลื่อนตำแหน่งลงมา 1 cell
กดปุ่มลูกศรขึ้น เมื่อต้องการเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปข้างบน 1 cell
กดปุ่มลูกศรชี้ไปทางขวา เมื่อต้องการเลื่อนไปทางขวา 1 cell เป็นต้น
ใช้ปุ่ม Tab
ปุ่มนี้ เมื่อกด จะเลื่อน ไปทางขวามือครั้งละ 1 Cell

ลองทำดู
คลิกที่ cell A1
กดปุ่ม Tab หลาย ๆ ครั้ง
จะเห็นกรอบสี่เหลี่ยมหรือ เคอร์เซอร์ วิ่งไปทางด้านขวามือ
ใช้ปุ่ม Shift + Tab
ถ้ากดปุ่ม Shift ค้างไว้ และกดปุ่ม Tab จะเห็นว่า กรอบสี่เหลี่ยม วิ่งไปทางซ้ายมือ

กดปุ่ม PageUp และ PageDown
ถ้าต้องการเลื่อนตำแหน่งไปข้างล่างทีละหน้า ให้กดปุ่ม PageDown และถ้าต้องการกลับขึ้นข้างบนทีละหน้า ให้กดปุ่ม PageUp

ใช้ปุ่ม End + ปุ่มลูกศร
ถ้ากดปุ่ม End ค้างไว้ และกดปุ่ม ลูกศรไปทางขวา จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งไปยังไปยัง cell ขวาสุดของ Worksheet
ถ้ากดปุ่ม End ค้างไว้ และกดปุ่ม ลูกศรไปทางซ้าย จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งไปยังไปยัง cell ซ้ายสุดของ Workshee
ถ้ากดปุ่ม End ค้างไว้ และกดปุ่ม ลูกศรไปขึ้น จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งไปยังไปยัง cell บนสุดของ Workshee
ถ้ากดปุ่ม End ค้างไว้ และกดปุ่ม ลูกศรไปลง จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งไปยังไปยัง cell ล่างสุดของ Workshee
การใช้ Name Box

ช่อง Name Box ที่เห็นในกรอบสีแดงข้างบน เมื่อพิมพ์ชื่อ Cell ที่ต้องการและกดปุ่ม Enter ก็จะไปยังตำแหน่ง cell ที่ต้องการได้ทันที

การใช้ ปุ่ม F5
ปุ่ม F5 อยู่แถวบนสุดของแป้นพิมพ์ เมื่อกดปุ่มนี้ จะให้เติม cell ที่ต้องการไป เช่น K8 เมื่อกดปุ่ม Enter หรือ ปุ่ม OK ก็จะสามารถเลื่อนไปยังตำแหน่งที่ระบุได้ทันที

การทำงานกับ Cell

การเลือก Cell
ถ้าต้องการทำงานที่ cell ใด ต้องเลือก cell นั้นเสียก่อน โดยการไปยังตำแหน่ง cell ที่ต้องการ แต่ถ้าต้องการทำงานกับหลาย cell ต้องมีการเลือก cell หลาย cell ซึ่งทำได้ดังนี้
ถ้าเป็นการเลือก cell ที่ติดกัน ให้เลื่อน เคอร์เซอร์ไปยังตำแหน่ง cell ที่เริ่มต้น และกดเมาส์ค้างไว้ แล้วลาก ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
ถ้าเป็นการเลือก cell ที่ไม่ติดกัน หลังจากเลือก cell ครั้งแรกแล้ว ให้กดปุ่ม Ctrl บนแป้นพิมพ์ ค้างไว้ แล้วไปยังตำแหน่ง cell ที่ต้องการ แล้วลากเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ จะเป็นการเลือกพื้นที่ cell ที่ไม่ติดกัน
จะเห็นเป็นแถบสว่างบริเวณที่ถูกเลือก การยกเลิกแถบสว่าง ทำได้โดยกดปุ่ม Esc บนแป้นพิมพ์ หรือ คลิกเมาส์บน Worksheet ที่ใดก็ได้

การป้อนข้อมูลลง Cell
การป้อนข้อมูลลงใน Cell ทำได้ ดังนี้

นำเคอร์เซอร์ไปที่ cell A1 แล้วคลิก 1 ครั้ง

พิมพ์คำว่า วราวรรณ ในช่อง A1

จะเห็นว่า ข้อความที่พิมพ์จะปรากฎขึ้น 2 แห่ง คือ ในช่อง A1 และใน Formula bar และที่ช่อง formular bar จะเห็นเครื่องหมายผิด และเครื่องหมาย ถูก  ปรากฎขึ้นที่ข้างหน้าตัวอักษร Fx เครื่องหมายนี้ จะปรากฎก็ต่อเมื่ออยู่ในสถานะหรือ โหมดการพิมพ์ หรือแก้ไขใน cell เพื่ออำนวยความสะดวกในการแก้ไข เช่น เมื่อต้องการยกเลิก ก็กดเครื่องหมายผิด Excel จะลบข้อความทั้งหมด และออกจากโมดการพิมพ์ แต่ถ้าถูกต้องและต้องการตกลง ก็กดเครื่องหมาย ถูก ได้
ถ้าพิมพ์ผิด และต้องการลบให้ใช้ปุ่ม Backspace บนแป้นพิมพ์ จะลบจากหลังไปหน้า ทีละตัวอักษร
กดปุ่ม Enter จะเห็นข้อความ "วราวรรณ" ปรากฎใน Cell หรือ ช่อง A1 ดังภาพ

การพิมพ์ วันที่
ในการพิมพ์วันที่ ต้องพิมพ์ให้ถูกรูปแบบ จึงจะสามารถนำไปคำนวณค่าได้ในภายหลัง ดังนั้น จึงควรพิมพ์ให้ถูกรูปแบบเสียตั้งแต่ต้น
รูปแบบคือ พิมพ์ วันที่ และคั่นด้วยเครื่องหมาย / ต่อด้วยเดือน คั่นด้วยเครื่องหมาย / และต่อด้วยปี เช่น 20/12/2549

การพิมพ์ข้อมูลเดียวกัน หลาย Cell
การพิมพ์ข้อความเดียวกัน ในหลาย Cell พร้อม ๆ กัน ทำได้โดยการเลือก Cell ที่ต้องการให้ข้อมูลปรากฎ ไม่จำเป็นต้องเป็น Cell ติดต่อกันก็ได้ มีขั้นตอนการทำ ดังนี้
เลือก Cell ตั้งแต่ B1 ถึง D1

กดปุ่ม Ctrl บนแป้นพิมพ์ และเลือก C3 ถึง D3

พิมพ์คำว่า ศนก จะปรากฎในช่อง C3 และใน Formula bar

กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วกดปุ่ม Enter จะได้ข้อความในช่อง ที่กำหนด ดังภาพ

การแก้ไขข้อมูลใน Cell
หลังจากที่พิมพ์ข้อความ หรือป้อนข้อมูลลงใน cell แล้ว หากต้องการแก้ไข ให้ไปที่ cell ที่ต้องการแก้ไข แล้วกดปุ่ม F2

ลองทำดู
ให้คลิกที่ Cell A1 หรือ ช่อง A1 ซึ่งมีชื่อ วราวรรณ ปรากฎอยู่
กดปุ่ม Backspace เพื่อลบ คำว่า "วรรณ" ออก
พิมพ์คำว่า "ภรณ์" แล้วกดปุ่ม Enter
จะเห็นคำว่า วราภรณ์ ปรากฎในช่อง A1 ดังภาพ

การใช้ formula Bar ในการแก้ไขข้อมูล
การแก้ไขข้อมูลอีกวิธีหนึ่งคือการใช้ Formular Bar โดยทำดังนี้

ให้คลิกที่ Cell A1 หรือ ช่อง A1 ซึ่งมีชื่อ วราภรณ์ ปรากฎอยู่
ที่ Formula Bar นำเคอร์เซอร์ไปไว้ที่ท้ายข้อความ ดังภาพ

คลิกเมาส์แล้วกดปุ่ม Backspace ไปเรื่อย ๆ จนลบข้อความออกทั้งหมด
พิมพ์คำว่า "วิทยา" แล้วกดปุ่ม Enter
จะเห็นคำว่า วิทยา ปรากฎในช่อง A1 ดังภาพ

การลบข้อมูลใน Cell

การลบข้อมุลใน cell ถ้าเป็นข้อมูลใน cell ใด cell หนึ่ง ให้เลือกที่ cell นั้น แล้วกดปุ่ม Delete บนแป้นพิมพ์
ถ้าต้องการลบหลาย cell ให้ลากแถบสว่าง ให้ครอบคลุมพื้นที่ cell ที่ต้องการลบข้อมูล แล้วกดปุ่ม Delete บนแป้นพิมพ์
การลบข้อมูล หรือ ล้างรูปแบบใน Cell
การลบข้อมูลโดยการกดปุ่ม Delete เป็นการลบเฉพาะข้อมูล แต่รูปแบบต่าง ๆ เช่น สีพื้น ขนาดตัวอักษร และ อื่น ๆ ยังคงอยู่ โปรแกรม Excel มีวิธีการให้เลือกว่า จะลบสิ่งใดออกบ้าง เช่น จะลบเฉพาะข้อมูล หรือล้างรูปแบบของ cell ด้วย ซึ่งมีวิธีการดังนี้

ให้คลิกที่ Cell ที่ต้องการลบข้อมูล หรือล้างรูปแบบของ Cell
ไปทึ่ Edit > Clear และเลือกคลิกตามต้องการ

All คือ ลบข้อมูลใน Cell พร้อมทั้งล้างรูปแบบทัี้งหมด
Formats ล้างเฉพาะรูปแบบ แต่ข้อมูลยังคงไว้ เช่น เอาสีพื้นออก แต่ข้อมูลยังเหมือนเดิม เป็นต้น
Contents Del ลบเฉพาะข้อมูล แต่รูปแบบของ cell เช่น สีพื้นหลัง ยังเหมือนเดิม
Comments ลบข้อความที่เป็น comments ของ cell นี้ออก
การกรอกข้อมูลเลขลำดับที่อัตโนมัติ
Excel มีลักษณะหลายอย่างที่ช่วยการทำงานให้รวมเร็วและสะดวกขึ้น เช่น การกรอกลำดับที่ หากมีการกรอกลำดับที่เรียงกันลงมา 2 ลำดับที่ Excel จะสามารถสร้างต่อให้เองได้ โดยอัตโนมัติ ลองดูวิธีการต่อไปนี้

ที่ตำแหน่ง A1 พิมพ์ หมายเลข 1 แล้วกด Enter
ที่ตำแหน่ง A1 พิมพ์ หมายเลข 2 แล้วกด Enter จะได้ดังภาพ

คลิกที่ตำแหน่ง A1 กดเมาส์ค้างไว้ แล้วลากลงมาที่ตำแหน่ง A2 แล้วปล่อยเมาส์
จะเกิดเส้นสี่เหลี่ยมล้อมรอบตำแหน่ง A1 และ A2 พร้อมกันนี้ จะเห็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ทางมุมล่างด้านขวามือ

นำเคอร์เซอร์ไปไว้ที่ สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ มุมล่างด้านขวา เคอร์เซอร์จะเปลี่ยนเป็นรูปกากบาท ดังภาพ

กดเมาส์ค้างไว้ แล้วลากลงมาตรง ๆ จนถึงตำแหน่ง A6
จะเห็นว่าโปรแกรม Excel สร้างหมายเลขให้โดยอัตโนมัติ

การทำงานของ Excel โปรแกรมจะวิเคราะห์ว่า ส่วนที่เลือกก่อนหน้านี้ มีลักษณะอย่างไร และเมื่อลากขยายออกไปแล้ว ควรจะเป็นอย่างไร
ถ้าเรากรอกเลขอย่างเป็นระบบ โปรแกรม Excel สามารถเติมเลขลำดับถัดไปให้เราได้
ลองทำดู

พิมพ์หมายเลข 13 และ 5 ในช่อง A5, A6 และ A7
ใช้เมาส์ลากคลุม ทั้ง 3 Cell
ที่มุมล่างด้านขวา กดเมาส์ค้างไว้แล้วลากเพื่อให้โปรแกรม Excel เติมข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ
จะเห็นมีเลข 7911 ... เกิดขึ้น
นอกจากนี้ Excel ยังสามารถเติม วัน เดือน ปี ให้่ได้อีกด้วย เพราะ Excel รู้รูปแบบของวันที่ ได้ดี
รูปแบบ วัน เดือน ปี ขึ้นอยู่กับการตั้งค่า Regional and Language Options ใน Control Panel ถ้าตั้งภาษาไทยเอาไว้ รูปแบบการพิมพ์วันที่ ก็จะเหมือนที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป คือ วัน เดือน ปี พ.ศ. ถ้าเป็น English United States จะมีรูปแบบเป็น เดือน วัน และ ปี ค.ศ.
ลองทำดู

พิมพ์เดือน ม.ค. ในช่อง B1
ที่มุมล่างด้านขวา กดเมาส์ค้างไว้แล้วลากลงมาตรง ๆ จนถึง B4

เมื่อปล่อยเมาส์ โปรแกรม Excel จะเติมเดือนให้โดยอัตโนมัติ

แบบฝึกหัด

ให้พิมพ์ข้อความต่อไปนี้ ลงใน Sheet ของ Excel


A             B             C             D             E            
1              ชื่อ          วิทย์        คณิต       อังกฤษ   รวม       
2              ปราการ  20           30           20           70
3              สมุทร     30           20           15           65          
4              นฤมล    30           30           25           85          
5              วราวรรณ               25           21           30           76          
6              ทองจุล   25           25           25           75          
7              ไพโรจน์                25           25           30           80          
การย้ายข้อมูล
ในกรณีที่จะย้ายข้อมูล ให้ลากแถบสว่างให้ครอบคลุมบริเวณที่ต้องการย้ายเสียก่อน จากนั้น จึงใช้เมาส์คลิกที่ขอบ แล้วลากไปยังตำแน่งที่ต้องการ
ตัวอย่าง
ต้องการย้ายข้อมูล B2 ถึง B5 ไปยังตำแหน่ง C2 ถึง C5 ดังนี้

ใช้เมาส์คลิกที่ตำแหน่ง B2 คลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลากลงมาที่ตำแหน่ง B5 แล้วปล่อยเมาส์

นำเคอร์เซอร์ไปวางที่เส้นขอบ จะเห็นเคอรเซอร์เปลี่ยนรูปเป็นลูกศร สี่ทิศทาง แสดงว่าเคลื่อนย้ายได้

กดเมาส์ค้างไว้ แล้วลากไปที่ตำแหน่งที่ต้องการย้าย ในที่นี้คือ คอร์ลัมน์ ขอให้สังเกต กรอบสี่เหลี่ยม ซึ่งจะเป็นบริเวณที่ข้อมูลที่ถูกย้ายจะมาปรากฎ

ปล่อยเมาส์ ข้อมูลจะถูกย้ายตามที่ต้องการ

การคัดลอก cell และ วาง หรือ paste ใน cell

เราสามารถคัดลอก หรือ copy เนื้อหาในช่อง cell ได้หลายวิธี วิธีที่สะดวกคือการใช้ icon บน เมนูบาร์ คือ รูป  สำหรับคัดลอก และ รูป  สำหรับวาง หรือ paste สิ่งที่คัดลอกไว้ ซึ่งมีวิธีการ ดังนี้

พิมพ์ ตัวเลขในช่อง cell ดังภาพข้างล่างนี้

คลิกเมาส์ที่ ช่อง A1 และลาก เพื่อลากแถบสว่าง ให้ครอบคลุมถึงช่อง C2 ดังภาพ

คลิกรูป  บนเมนูบาร์ เพื่อคัดลอก สิ่งที่อยู่ใน cell ที่ลากแถบสว่างไว้
จะเกิดเส้นประล้อมรอบบริเวณที่ได้ทำการคัดลอกแล้ว ดังนี้

ถ้าเปลี่ยนใจ ต้องการเอาเส้นประออก ให้กดปุ่ม Esc บนแป้นพิมพ์ เส้นประจะหายไป
ใช้เมาส์คลิกที่ช่อง D1 แล้ว ลากไปให้ครอบคลุมให้เท่ากับบริเวณที่คัดลอก cell ในที่นี้คือ ต้องลากไปถึงช่อง F2 เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ไปทับข้อมูลเก่าที่มีอยู่เดิม
คลิกรูป  บนเมนูบาร์ เพื่อวางข้อมูลที่คัดลอกไว้ จะเกิดดังนี้

กดปุ่ม Esc บน แป้นพิมพ์ เพื่อออกจากโหมด คัดลอก เส้นประจะหายไป